วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เซลล์

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

เซลล์
ในทางชีววิทยา เซลล์ (cell) เป็นโครงสร้างและหน่วยทำงานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ในบางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต ("building blocks of life") สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีเรีย ประกอบด้วยเซลล์เพียง 3 เซลล์ (unicellular) แต่สัตว์หลายชนิด เช่น มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular) (มนุษย์มีเซลล์อยู่ประมาณ 10000 ล้านล้าน หรือ 1014 เซลล์)
ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป
คำว่า เซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็กๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระ
คุณสมบัติของเซลล์

เซลล์ของหนูในจานเพาะเชื้อ เซลล์เหล่านี้กำลังขยายขนาดใหญ่ขึ้น แต่ละเซลล์มีขนาดประมาณ 10 โมโครเมตร
แต่ละเซลล์มีองค์ประกอบและดำรงชีวิตได้ด้วยตัวของมันเอง โดยการนำสารอาหารเข้าไปในเซลล์และเปลี่ยนสารอาหารให้กลายเป็นพลังงานเพื่อการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์ เซลล์มีความสามารถหลายอย่างดังนี้:
• เพิ่มจำนวนโดยการแบ่งเซลล์
• เมแทบอลิซึมของเซลล์ (cell metabolism) ประกอบด้วย การลำเลียงวัตถุดิบเข้าเซลล์, การสร้างส่วนประกอบของเซลล์, การสร้างพลังงานและโมเลกุล และปล่อยผลิตภัณฑ์ออกมา การทำงานของเซลล์ขึ้นกับความสามารถในการสกัดและใช้พลังงานเคมีที่สะสมในโมเลกุลของสารอินทรีย์ พลังงานเหล่านี้จะได้จากวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway)
• การสังเคราะห์โปรตีนเพื่อใช้ในระบบการทำงานของเซลล์ เช่น เอนไซม์ โดยเฉพาะเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีโปรตีนต่าง ๆ ถึง 10,000 ชนิด
• ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั้งภายนอกและภายใน เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ pH หรือระดับอาหาร
• การขนส่งของเวสิเคิล (vesicle)
ประเภทของเซลล์
ภาพเปรียบเทียบเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotes) และเซลล์โพรแคริโอต (prokaryotes) - รูปนี้แสดงเซลล์มนุษย์ (ยูแคริตโอต) และ เซลล์แบคทีเรีย (โพรแคริโอต) ด้านซ้ายแสดงโครงสร้างภายในของเซลล์ยูแคริโอต ซึ่งประกอบด้วย นิวเคลียส (สีฟ้า) , นิวคลีโอลัส (สีน้ำเงิน) , ไมโทคอนเดรีย (สีส้ม) , และไรโบโซม (สีน้ำเงินเข้ม) รูปทางขวาแสดงดีเอ็นเอของแบคทีเรีย ที่อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า นิวคลิออยด์ (สีฟ้าอ่อน) และโครงสร้างอื่นๆ ที่พบในเซลล์โพรแคริโอต ซึ่งประกอบด้วย เยื่อหุ้มเซลล์ (สีดำ) , ผนังเซลล์ (สีน้ำเงิน) , แคปซูล (สีส้ม) , ไรโบโซม (สีน้ำเงินเข้ม) , แฟลกเจลลัม (สีดำ)
วิธีการจัดกลุ่มเซลล์ไม่ว่าเซลล์นั้นจะอยู่ตามลำพังหรืออยู่เป็นกลุ่ม ได้แก่ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (unicellular) ซึ่งดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด จนไปถึงการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มที่เรียกว่า โคโลนี (colonial forms) หรือ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular) ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะกลายเป็นเซลล์เฉพาะทางที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ เช่น เซลล์ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์
โดยสรุป เซลล์สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ
• โพรแคริโอต (prokaryote) เป็นเซลล์ที่มีโครงสร้างอย่างง่าย อาจอยู่เป็นเซลล์เดี่ยวๆ หรือรวมกลุ่มเป็นโคโลนี (Colony) ในการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์แบบระบบสามโดเมน (three-domain system) ได้จัดโพรแคริโอตอยู่ในโดเมนอาร์เคีย (Archaea) และแบคทีเรีย (Eubacteria)
• ยูแคริโอต (eukaryote) เป็นเซลล์ที่มีออร์แกเนลล์ (organelle) และผนังของออร์แกเนลล์ มีตั้งแต่เซลล์เดียวเช่น อะมีบา (amoeba) และเห็ดรา (fungi) หรือเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่นพืชและสัตว์รวมทั้งสาหร่ายสีน้ำตาล
ส่วนประกอบย่อยของเซลล์
ภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส, (2) นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลจิแอปพาราตัส, (7) ระบบเส้นใยของเซลล์, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล

ภาพเซลล์พืชทั่วไป แสดงส่วนประกอบย่อยของเซลล์ (ดูตาราง 2 แสดงการเปรียบเทียบระหว่างเซลล์พืชและสัตว์)
เซลล์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นโพรแคริโอตหรือยูแคริโอตจะต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์เสมอ เพื่อแยกส่วนประกอบภายในเซลล์ออกจากสิ่งแวดล้อม เป็นการควบคุมการขนส่งสารเข้าออกเซลล์ และเพื่อรักษาความต่างศักย์ทางไฟฟ้าของเซลล์ (cell potential) ภายในเยื่อหุ้มเซลล์จะประกอบไปด้วย ไซโทพลาซึมที่มีสภาพเป็นเกลือ และเป็นเนื้อที่ส่วนใหญ่ของเซลล์ ภายในเซลล์จะมี ดีเอ็นเอ หน่วยพันธุกรรมของเซลล์หรือยีน และ อาร์เอ็นเอชึ่งจะมีข้อมูลที่จำเป็นในการถ่ายทอดพันธุกรรม รวมทั้งโปรตีนต่างๆ เช่น เอนไซม์ นอกจากนี้ภายในเซลล์ก็ยังมีสารชีวโมเลกุล (biomolecule) ชนิดต่างๆ อีกมากมาย
เยื่อหุ้มเซลล์ - ส่วนหุ้มและปกป้องเซลล์
ไซโทพลาซึมของเซลล์ประเภทยูแคริโอตจะถูกห้อมล้อมด้วยส่วนที่เรียกว่า เยื่อหุ้มเซลล์ หรือ พลาสมา เมมเบรน (cell membrane หรือ plasma membrane) พลาสมาเมมเบรนจะพบในเซลล์ประเภทโพรแคริโอตด้วย เยื่อนี้จะทำหน้าที่แยกและปกป้องเซลล์จากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ส่วนใหญ่แล้วถูกสร้างขึ้นจากชั้นของลิพิดสองชั้น หรือ ลิพิด ไบเลเยอร์ (lipid bilayer) และโปรตีน ภายในเยื่อจะมีโมเลกุลหลากชนิดที่ทำหน้าที่เป็นทั้งช่องทางผ่านของสารและปั๊ม (channels and pumps) เพื่อทำหน้าที่เฉพาะในการขนส่งโมเลกุลเข้าหรือออกจากเซลล์
ไซโทสเกเลตอน (cytoskeleton) - ส่วนที่เป็นโครงสร้างของเซลล์
ไซโทสเกเลตอนเป็นโครงสร้างที่สำคัญ ซับซ้อน และเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีบทบาทในการจัดรูปแบบและจัดเรียงตำแหน่งของออร์แกเนลล์ให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม, ช่วยให้เกิดกระบวนการเอนโดไซโทซิส (endocytosis) หรือการนำสารจากภายนอกเซลล์เข้ามาในเซลล์เพื่อใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตและการเคลื่อนไหว, บทบาทในการทำงานของกล้ามเนื้อ, และมีโปรตีนจำนวนมากมายในไซโทสเกลเลตอนที่ควบคุมโครงสร้างของเซลล์
ไซโทสเกเลตอน แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ได้แก่ ไมโครทูบูล (Microtubule) , อินเทอร์มีเดียท ฟิลาเมนท์ (Intermediate Filament) และ ไมโครฟิลาเมนท์ (Microfilament)
สารพันธุกรรม (Genetic Material)
สารพันธุกรรมแตกต่างกันสองชนิดคือ :
• ดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid-DNA)
• อาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid-RNA)
รหัสพันธุกรรม (Genetic code) ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมของเซลล์ซึ่งเก็บอยู่ในรูปดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ใช้ดีเอ็นเอสำหรับเก็บข้อมูลทางพันธุกรรม แต่ไวรัสบางชนิด เช่น รีโทรไวรัส (retrovirus) มีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม อาร์เอ็นเอนอกจากจะเป็นสารพันธุกรรมแล้วยังทำหน้าที่เป็นสารที่ขนถ่ายข้อมูลด้วย ได้แก่ เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ หรือ (mRNA) และอาจทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ได้โดยเฉพาะในเซลล์ที่มีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม ได้แก่ ไรโบโซมัล อาร์เอ็นเอ หรือ (rRNA)
สารพันธุกรรมของพวกโปรคาริโอต จะถูกจัดอยู่ในโมเลกุลของดีเอ็นเอรูปวงกลมง่ายๆ เช่น ดีเอ็นเอของแบคทีเรียซึ่งอยู่ในบริเวณนิวคลอยด์ (nucleoid region) ของไซโตพลาสซึม ส่วนสารพันธุกรรมของพวกยูคาริโอต จะถูกจัดแบ่งให้อยู่ในโมเลกุลที่เป็นเส้นตรงที่เรียกว่า โครโมโซม (chromosome) ภายในนิวเคลียส และยังพบว่ามีสารพันธุกรรมอื่นๆ นอกจากในโครโมโซมในออร์แกเนลล์บางชนิด เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ (ดูเพิ่มเติมที่ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติก (endosymbiotic theory)) เช่น ในเซลล์มนุษย์จะมีสารพันธุกรรมในบริเวณดังนี้
• ในนิวเคลียส เรียกว่า นิวเคลียร์ จีโนม (nuclear genome) แบ่งเป็นโมเลกุลเส้นตรง ดีเอ็นเอ 46 เส้น หรือ 23 คู่ เรียกว่า โครโมโซม
• ในไมโทคอนเดรีย เรียกว่า ไมโทคอนเดรียล จีโนม (mitochondrial genome) เป็นโมเลกุลดีเอ็นเอรูปวงกลมที่แยกจากดีเอ็นเอในนิวเคลียส ถึงแม้ไมโทคอนเดรียล จีโนมจะเล็กมากแต่ก็มีรหัสสำหรับการสร้างโปรตีนที่สำคัญ
สารพันธุกรรมจากภายนอกที่สังเคราะห์ขึ้นได้เองสามารถนำไปใส่ในเซลล์ได้เราเรียกกระบวนการนี้ว่า ทรานสเฟกชัน (transfection)
เนื้อเยื่อสัตว์
ในร่างกายของสัตว์ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ชั้นต่ำลงไปเช่นแมลง ต่างประกอบด้วยเนื้อเยื่อพื้นฐาน 4 ประเภท เนื้อเยื่อเหล่านี้รวมตัวกันเป็นโครงสร้างและอวัยวะต่างๆ กัน
• เนื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบไปด้วยชั้นของเซลล์ที่ปกคลุมพื้นผิวของอวัยวะต่างๆ เช่น พื้นผิวของผิวหนัง และบุผิวทางเดินอาหาร มีหน้าที่ปกป้องจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หลั่งสารและดูดซึมสาร
• เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) ทำหน้าที่เป็นโครงร่างยึดส่วนต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เช่น เลือด หรือ กระดูก
• เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (Muscular tissue) เซลล์กล้ามเนื้อประกอบด้วยฟิลาเมนต์ (เส้นใย) หลายเส้นที่หดตัวได้ สามารถเคลื่อนที่ผ่านกันและเปลี่ยนขนาดของเซลล์ได้ เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทคือ กล้ามเนื้อเรียบ (visceral or smooth muscle) พบอยู่ที่ผนังของอวัยวะภายใน, กล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) ซึ่งยึดอยู่กับกระดูก ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหว และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) พบได้ที่หัวใจ
• เนื้อเยื่อประสาท (Nervous tissue) ประกอบด้วยเซลล์ที่รวมตัวกันเป็นสมอง (brain) , ไขสันหลัง (spinal cord) , และระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system)
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วไป (Connective tissue proper)

เนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วไป (Connective tissue proper)
• เนื้อเยื่อร่างแห (Areolar (or loose) connective tissue) ช่วยค้ำจุนอวัยวะและเนื้อเยื่อบุผิวให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ประกอบด้วยเส้นใยโปรตีนหลายชนิด เช่น เส้นใยคอลลาเจน และ เส้นใยอีลาสติน นอกจากนั้นเนื้อเยื่อนี้ยังมีบทบาทในการอักเสบ
• เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissue) ประกอบด้วยเซลล์ไขมัน (adipocyte) ทำหน้าที่ป้องกันแรงกระทบกระเทือน เป็นฉนวนกันการสูญเสียความร้อน และช่วยหล่อลื่น (โดยเฉพาะในเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) และเก็บสะสมพลังงานในรูปไขมัน
• เนื้อเยื่อเกี่ยวพันหนาแน่น (Dense connective tissue) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า เนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous connective tissue) รวมตัวกันเป็นเอ็น (ligament) และเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) เส้นใยคอลลาเจนจะเรียงตัวกันหนาแน่นทำให้สามารถทนแรงตึงได้ดี
• เนื้อเยื่อเกี่ยวพันตาข่าย (Reticular connective tissue) เป็นโครงข่ายของเส้นใยเรติคูลาร์ (reticular fibre) (เส้นใยคอลลาเจน ชนิด III) รวมตัวกันเพื่อเป็นโครงให้อวัยวะน้ำเหลือง (lymphoid organ) ยึดเกาะ (เช่น ต่อมน้ำเหลือง (lymph node) , ไขกระดูก (bone marrow) , และม้าม (spleen))
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันพิเศษ (Specialized connective tissues)
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันพิเศษ (Specialized connective tissues)
• เลือด ทำหน้าที่ในการขนส่งสารต่างๆ ในร่างกาย สารองค์ประกอบนอกเซลล์ (extracellular matrix) คือ พลาสมา หรือ น้ำเลือด (blood plasma) ที่ซึ่งทำละลายและลำเลียงสารอาหาร, ฮอร์โมน และ คาร์บอนไดออกไซด์ในรูปของไบคาร์บอเนต เซลล์ที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ คือ เม็ดเลือดแดง
• กระดูก ประกอบกันขึ้นเป็นโครงร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่โตเต็มที่
• กระดูกอ่อน เป็นโครงร่างกายในสัตว์จำพวกปลากระดูกอ่อน (chondrichthyes) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ มักพบกระดูกอ่อนตามข้อต่อเพื่อช่วยในการป้องกันการกระทบเสียดสี สารองค์ประกอบนอกเซลล์ของกระดูกอ่อนส่วนใหญ่คือคอลลาเจน
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
อาการและอาการแสดงบางอย่างของระบบหัวใจและหลอดเลือด
อาการเขียวคล้ำ คืออาการซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมีระดับของเฮโมโกลบินในเลือดมากเกินปกติ ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นสีเขียวคล้ำ อาการเขียวคล้ำจะเห็นได้ชัดที่บริเวณเนื้อเยื่อของร่างกาย เช่น ริมฝีปาก ลิ้น และเยื่อตาขาว กล่าวกันว่าถ้ามีปริมาณของเฮโมโกลบินมากกว่า ๔ กรัม ต่อ ๑๐๐ มิลลิลิตรของเลือด จะสามารถสังเกตอาการเขียวคล้ำได้
อาการเขียวคล้ำแบ่งออกได้ ๒ ชนิด คือ
๑. อาการเขียวคล้ำส่วนกลาง หมายถึงอาการเขียวคล้ำซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากเลือดแดงมีออกซิเจนน้อยเกินปกติ หรืออีกนัยหนึ่งมีออกซิเจนไม่ถึงขั้นอิ่มตัวอาการเขียวคล้ำชนิดนี้ อาจเกิดขึ้นเนื่องจากปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เพียงพอ หรือเกิดขึ้นเนื่องจากมีวงจรลัดติดต่อระหว่างหัวใจซีกขวาและหัวใจซีกซ้าย ทำให้เลือดดำผ่านจากหัวใจซีกขวาไปสู่หัวใจซีกซ้าย ซึ่งจะถูกสูบฉีดไปสู่ร่างกายโดยตรง สาเหตุของอาการเขียวคล้ำส่วนกลาง ได้แก่ โรคปอดอย่างรุนแรงเช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหืด โรคถุงลมพองมีสารน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดมาก โรคปอดบวมอย่างรุนแรง และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดมีวงจรลัดเป็นต้น
๒. อาการเขียวคล้ำส่วนปลาย หมายถึงอาการเขียวคล้ำ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากเลือดมีการไหลเวียนช้ากว่าธรรมดา เช่น ในเวลาอากาศเย็น แต่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากมีการอุดกั้นของหลอดเลือดดำ ภาวะเม็ดเลือดเกิน หรือเกิดขึ้นเนื่องจากการไหลเวียนล้ม เช่น ในภาวะหัวใจวาย เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าบางภาวะ เช่น ในโรคหัวใจวาย จะมีอาการเขียวคล้ำทั้งสองชนิดเกิดขึ้นร่วมกัน
อาการบวม อาการบวมเกิดขึ้นเนื่องจากมีการคั่งค้างของน้ำในเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ อาการบวมที่เกิดขึ้น มักจะพบได้บ่อยในบริเวณที่อยู่ต่ำของร่างกาย เช่น ที่หลังเท้าในผู้ป่วยที่ยังสามารถเดินหรือนั่งได้ หรือบริเวณก้นกบในผู้ป่วยที่นอนตลอดเวลาผู้ป่วยอาจสังเกตอาการดังกล่าวได้ชัดเจน ถ้าใส่รองเท้าอยู่เป็นประจำ แล้วพบว่ารองเท้าคับหรือใส่รองเท้าไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวลาบ่าย อาการบวมอาจเกิด ขึ้นได้ที่บริเวณหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่บริเวณรอบๆ นัยน์ตา เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณนี้มีลักษณะอ่อน ทำให้สารน้ำสามารถผ่านเข้าไปขังอยู่ได้โดยง่ายมักเห็นอาการบวมได้ชัดเจน เมื่อใช้มือกดทำให้มีลักษณะเป็นรอยบุ๋ม (อาการบวมชนิดที่กดแล้วไม่บุ๋มพบในมิกซีดีมา ;myxoedema) สาเหตุของการบวมมีได้หลายชนิด เช่น เกิดขึ้นเนื่องจากการสูญเสียโปรตีนจากร่างกายมากกว่าธรรมดา หรือไม่สามารถที่จะสร้างโปรตีนได้ ทำให้ระดับของโปรตีนในเลือดลดลงกว่าเดิมมีความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กไทรไลต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอลโดสตีโรน (aldosterone) การอุดกั้นหรือการกดของหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ

ความดันเลือด คนปกติความดันในหลอดเลือดแดงจะขึ้นหรือลงตลอดเวลา โดยแปรตามการสูบฉีดเลือดจากหัวใจ ความดันสูงสุดของหลอดเลือดแดง เรียกว่า ความดันซิสโทลิก และความดันต่ำสุดเรียกว่า ความดันไดแอสโทลิก (diastolic pressure) ความแตกต่างระหว่างความดันซิสโทลิกและความดันไดแอสโทลิก เรียกว่า ความดันชีพจร (pulse pressure)
โดยทั่วไป ระดับของความดันในหลอดเลือดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ปริมาณการสูบฉีดเลือดจากหัวใจ ความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular resistance) และลักษณะของหลอดเลือดแดงเอง ค่าของความดันเลือดในคนปกติขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการเช่นเดียวกัน เช่นอายุ สภาพทางอารมณ์ และการออกกำลังกาย อย่างไรก็ดี ในผู้ใหญ่ ค่าของความดันเลือดปกติของหลอดเลือดแดงที่บริเวณแขนในท่านอนพักไม่ควรเกิน ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรของปรอท

ชีพจรเลือดแดง ชีพจรเลือดแดงนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการตรวจร่างกายประจำ การตรวจชีพจรเลือดแดงโดยละเอียดถี่ถ้วน อาจช่วยในการวินิจฉัยโรคได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ ในการตรวจชีพจรของหลอดเลือดแดง แพทย์มักต้องบอกอัตราการเต้นของชีพจรต่อนาที ความสม่ำเสมอของการเต้น ความตึงของชีพจร ลักษณะของคลื่นชีพจร และลักษณะของหลอดเลือด

ลักษณะปลายนิ้วปุ้ม ลักษณะปลายนิ้วปุ้มคล้ายกระบอง อาจพบได้ในโรคหัวใจหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีอาการเขียวคล้ำร่วมด้วย ปลายนิ้วจะมีลักษณะปุ้มคล้ายกระบองซึ่งจะเริ่มเห็นได้ชัดที่ส่วนโคนเล็บต่อกับบริเวณเนื้อของโคนเล็บ ซึ่งจะเป็นรอยนูนขึ้นมาทำให้โคนเล็บเคลื่อนขึ้นลงได้ง่ายเมื่อถูกกด ลักษณะปลายนิ้วกลมดังกล่าวอาจพบได้ในโรคอื่นๆ อีก เช่น โรคปอดเรื้อรัง มะเร็งของหลอดลม และโรคของตับบางชนิด เป็นต้น
ภาวะหัวใจวาย
ภาวะหัวใจวาย หมายถึง ภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถที่จะสูบฉีดเลือดให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในภาวะนั้นๆ ความไม่สามารถดังกล่าวทำให้มีความผิดปกติของการไหลเวียนของเลือดซึ่งทำให้เกิดมีอาการได้หลายประการ ภาวะหัวใจวายแบ่งได้สองประเภท คือ ภาวะหัวใจซีกซ้ายวายและภาวะหัวใจซีกขวาวาย

ภาวะหัวใจซีกซ้ายวาย มีสาเหตุซึ่งพบได้บ่อยๆ ได้แก่ โรคความดันเลือดสูง โรคของหลอดเลือดแดงโคโรนารี เช่น หลอดเลือดแดงโคโรนารีอุดกั้น โรคของลิ้นเอออร์ติกของหัวใจ เป็นต้น
อาการที่สำคัญของหัวใจซีกซ้ายวาย ได้แก่ อาการหายใจยาก หรือหายใจลำบาก ซึ่งเริ่มเป็นเมื่อเวลาทำงาน และต่อมาจะมีอาการหายใจลำบากเมื่อเวลานอนราบ เมื่อผู้ป่วยมีอาการคั่งของหลอดเลือดในปอดมากขึ้น จะปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากจนถึงกับต้องนั่ง อาการจึงจะทุเลาลงได้ ในรายที่มีอาการมากขึ้น จะปรากฏว่า ผู้ป่วยมักมีอาการไอในเวลากลางคืนเป็นพักๆ และอาจจะดีขึ้นเมื่อผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหายใจลำบากในเวลากลางคืนเป็นพักๆ หรืออาจเรียกว่าอาการหอบหืดจากหัวใจ

ภาวะหัวใจซีกขวาวาย มักเกิดขึ้นตามหลังหัวใจซีกซ้ายวาย โรคของลิ้นไมทรัลของหัวใจ โรคหัวใจซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากโรคของปอด โรคความพิการของหัวใจแต่กำเนิดบางชนิด และหัวใจซีกขวาวายภายหลังเอ็มบอลิซึมของหลอดเลือดแดงพูลโมนารี (pulmonary) ภาวะที่มีห้องหัวใจส่วนปลายซีกขวาขยายตัวเกินปกติ เนื่องจากโรคเรื้อรังในปอดที่มีชื่อเรียกว่า คอร์พูลโมนัล (cor pulmonale)
อาการแสดงที่สำคัญของภาวะหัวใจซีกขวาวายได้แก่ อาการบวม อาการที่มีสารน้ำในช่องท้อง สารน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด อาการแสดงตับโตและกดเจ็บ และอาการความดันเลือดดำโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณคอสูงเกินปกติ เป็นต้น

การรักษาภาวะหัวใจวาย มีหลักการที่สำคัญ คือ
๑. ลดความต้องการของออกซิเจนของร่างกาย เพื่อให้หัวใจทำงานน้อยลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
๒. ช่วยให้หัวใจทำงานดีขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายจากภาวะหัวใจวายโดยเร็ว ยาที่ใช้ในการกระตุ้นหัวใจให้ทำงานดีขึ้น ได้แก่ ยาประเภทดิจิทาลิส (digitalis) เช่น ดิจ็อกซิน (digoxin) เป็นต้น
๓. รักษาภาวะเลือดและน้ำคั่ง เพื่อลดอาการเลือดคั่งในปอด อาการบวม การลดภาวะเลือดคั่งและการบวมอาจทำได้โดยการให้ยาขับปัสสาวะ และการจำกัดเกลือในอาหารที่กิน ในรายที่จำเป็นอาจต้องจำกัดน้ำที่ดื่มด้วย
การรักษาอื่นๆ ได้แก่ การให้ออกซิเจนช่วยในการหายใจ การรักษาสาเหตุของภาวะหัวใจวาย (ถ้าทำได้) การให้ยาประเภท อะมิโนฟิลลีน (aminofylline) อาจช่วยให้ผู้ป่วยหายใจดีขึ้น รวมทั้งอาจช่วยเป็นยาขับปัสสาวะได้ด้วย เป็นต้น
โรครูมาติกเฉียบพลัน เนกทิฟ (connective tissue) ของหัวใจ ลิ้นหัวใจ และข้อต่อต่างๆของร่างกาย
สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่นอน แต่เชื่อว่าเป็นโรคซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อพิษภายนอกของเชื้อบัคเตรีเฮโมไลทิก สเตร็ปโตค็อกคัส (haemolytic streptococcus, Lancefield type A) โรคนี้มักจะพบในเด็กหรือในวัยรุ่น และเชื่อว่าประมาณร้อยละ ๙๐ ของผู้ป่วยทั้งหมด มีอาการเกิดขึ้นระหว่างอายุ ๘-๑๕ ปี
อาการของโรครูมาติกเฉียบพลันมักตามหลังอาการเจ็บคอเนื่องจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสประมาณ ๑-๓ สัปดาห์ โดยจะเริ่มต้นทันทีด้วยอาการไข้และเจ็บปวดตามข้อ อาการปวดตามข้ออาจเกิดร่วมกับอาการบวมและแดง ทั้งนี้อาจมีอาการมากกว่า ๑ อาการและ มักจะเป็นข้อใหญ่ๆ ของร่างกาย เช่น ข้อศอก ข้อมือ ข้อหัวไหล่ ข้อตะโพก ข้อหัวเข่า หรือข้อเท้าอาการปวดตามข้อดังกล่าวมักจะมีลักษณะพิเศษ คือ มักจะปวดที่ข้อหนึ่งแล้วเลื่อนไปยังข้ออื่น และถือว่าเป็นลักษณะที่สำคัญอันหนึ่งของการวินิจฉัยโรค ข้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือมักจะไม่มีอาการปวดหรืออาการอักเสบ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการแสดงผื่นผิวหนังได้ ผื่นผิวหนังที่มีลักษณะตามแบบฉบับ ได้แก่ อาการผิวหนังร้อนแดง (erythema marginatum) ซึ่งเป็นผื่นที่มีลักษณะนูน สีแดง และไม่สม่ำเสมอ ลักษณะทางผิวหนังที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การมีปุ่มรูมาติก ซึ่งมักจะปรากฏที่บริเวณผิวหนังที่อยู่ชิดกับกระดูก เช่น บริเวณหน้าแข็ง ต้นแขน ข้อศอกข้อมือ ข้อเท้า หรือที่บริเวณหนังศีรษะ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจจะมีอาการซึ่งแสดงว่าไข้รูมาติกเฉียบพลันได้ลุกลามไปจนถึงหัวใจ เช่น อาจจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วกว่าธรรมดา มีเสียงฟู่ที่หัวใจ ตลอดจนหัวใจอาจจะมีขนาดโตกว่าธรรมดา มีการอักเสบของถุงหุ้มหัวใจ และอาจจะมีอาการรุนแรงจนถึงกับหัวใจวายได้
การวินิจฉัยโรคอาศัยอาการดังกล่าวข้างต้น แพทย์หลายคนนิยมวินิจฉัยโรคโดยอาศัยหลักเกณฑ์ของโจน
Jone's criteria) การตรวจเลือดจะปรากฏว่า ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดมากขึ้นกว่าปกติ เลือดจางมีอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงเร็วกว่าปกติ และมีไทเทอร์ต้านสเตร็ปโตไลซิน (antistreptolysin titer) สูงขึ้น แสดงว่าผู้ป่วยเคยมีการติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมาก่อน และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจสนับสนุนความผิดปกติดังกล่าวข้างต้น
การรักษาที่สำคัญ ได้แก่ การให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเต็มที่ร่วมกับการให้ยาประเภทซาลิซิเลต เช่น แอสไพริน ซึ่งจะทำให้อาการไข้และปวดตามข้อหายไปหรือดีขึ้นภายใน ๒-๓ วัน แพทย์บางคนนิยมให้ยาประเภทคอร์ทิโคสตีรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน ซึ่งเชื่อว่าทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เช่นเดียวกับการให้ยาซาลิซิเลตการรักษาอื่นๆ ได้แก่ การรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น อาการหัวใจอักเสบ ถุงหุ้มหัวใจอักเสบหรืออาการหัวใจวายที่เกิดร่วมด้วย เป็นต้น
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษา ได้แก่ การรักษาการติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสที่มีอยู่ และการป้องกันมิให้มีการติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสซ้ำอีกโดยการให้ยาประเภทเพนิซิลลิน การป้องกันมิให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บ คอเนื่องจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส อาจจะทำได้โดยการให้เพนิซิลลินชนิดรับประทาน หรือการให้เพนิซิลลินที่มีฤทธิ์นาน เช่น เบนซาทีนเพนิซิลลิน (bensathine penicillin) โดยการฉีดเดือนละครั้งจนกระทั่งผู้ป่วยมีอายุ ๑๘ ปี หรืออย่างน้อย ๕ ปี ถ้าผู้ป่วยมีอาการของไข้รูมาติกเฉียบพลันภายหลังอายุ ๑๓ ปี
โรครูมาติกเรื้อรัง
โรครูมาติกเรื้อรัง เป็นโรคหัวใจซึ่งเกิดขึ้นจากผลของการเป็นโรครูมาติกเฉียบพลัน โรคในโรครูมาติกเรื้อรังที่เกิดขึ้นตามหลังโรครูมาติกเฉียบพลันมักเป็นที่ลิ้นของหัวใจ พบได้บ่อยที่ลิ้นไมทรัล ลิ้นเอออร์ติกลิ้นไทรคิสพิด (tricuspid valve) และลิ้นพูลโมนารี (pulmonary valve) ตามลำดับ โดยที่ส่วนมากมักจะมีรอยโรคที่ลิ้นของหัวใจมากกว่า ๑ แห่งขึ้นไป อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากความพิการของลิ้นหัวใจดังกล่าว จึงมักจะเกิดขึ้นมา ภายหลังจากการเป็นโรครูมาติกเฉียบพลัน ๑๕-๒๐ ปี ผู้ป่วยจึงมีอาการเริ่มต้นประมาณ ๓๐ ปีเป็นต้น ความผิดปกติของหัวใจที่เกิดขึ้น อาจทำให้เกิดอาการลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีอาการผิดปกติทั้งตีบและรั่วร่วมกัน


โรคลิ้นไมทรัลรั่ว
โรคลิ้นไมทรัลรั่วอาจเกิดขึ้นเนื่องจากผลของโรครูมาติกเฉียบพลัน หรืออาจเป็นผลเนื่องจากการที่มีห้องปลายหัวใจซีกซ้ายใหญ่ขึ้นโดยสาเหตุต่างๆ เช่น สาเหตุจากโรคความดันเลือดสูง ทำให้มีการถ่างของลิ้นไมทรัลเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดอาการรั่วขึ้นได้ โรคลิ้นไมทรัลรั่วเนื่องจากโรครูมาติกเฉียบพลัน มักเกิดขึ้น ร่วมกับภาวะลิ้นไมทรัลตีบ ผู้ป่วยอาจมีอาการและอาการแสดงของภาวะเลือดคั่งในปอด และภาวะความดันหลอดเลือดพลูโมนารีสูงขึ้น และโรคหัวใจวายเลือดคั่งก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน
การรักษาที่สำคัญของโรคนี้ ได้แก่ การรักษาภาวะหัวใจวาย และโรคแทรก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกันในผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ้นไมทรัลตีบ การรักษาทางศัลยกรรม ได้แก่ การใส่ลิ้นหัวใจ
โรคของหลอดเลือดแดงโคโรนารี
โรคของหลอดเลือดแดงโคโรนารี เป็นโรคที่มีความสำคัญที่สุดในโรคระบบหัวใจ ทั้งนี้เพราะโรคของหลอดเลือดแดงนี้ เป็นสาเหตุของการตายที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยวัยกลางคน และสูงอายุ เนื่องจากมีการตีบหรือการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงนี้ สาเหตุของความผิดปกติของหลอดเลือดโคโรนารีดังกล่าวยังไม่ทราบแน่นอน แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่สำคัญหลายประการที่ทำให้มีการตีบตันของหลอดเลือดดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่มีสารประเภทไขมันในเลือดเกินปกติ เช่น ไขมันประเภทคอเลสเทอรอล (cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โรคความดันเลือดสูง ภาวะอ้วนหรือการไม่ออกกำลังกาย

อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือดเลี้ยง
อาการสำคัญคือเจ็บหรือแน่นหน้าอกหรือมีอาการปวดตื้อๆ ที่บริเวณกลางด้านหน้าและหลังกระดูกสันอกและอาจปวดร้าวไปถึงบริเวณคอ แขนด้านซ้ายหรือทั้งสองข้างและอาจจะปวดร้าวเลยไปจนถึงปลายนิ้วได้ อาการปวดจะมีชัดเจนเมื่อผู้ป่วยออกกำลังกายและจะหายไปภายในเวลา ๒-๓ นาทีถ้าผู้ป่วยพัก อาการดังกล่าวอาจจะมีได้มากขึ้นถ้ามีอากาศเย็น หลังกินอาหารหรือมีความผิดปกติทางอารมณ์ร่วมด้วย ส่วนมากผู้ป่วยจะมีอาการปวดอยู่ชั่วระยะเวลาอันสั้น เช่น ๔-๕ นาที และมักจะไม่มีความผิดปกติอื่นๆ เช่น ไม่มีอาการหายใจลำบากหรืออาการเป็นลมร่วมด้วย การที่เป็นเช่นนี้เพราะกล้ามเนื้อของหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เช่น จากการตีบของหลอดเลือดแดงโคโรนารี หรือเป็นเพราะว่ามีออกซิเจนในเลือดแดงน้อยเกินปกติ เช่นในผู้ป่วยที่มีอาการซีด การตรวจร่างกายผู้ป่วยมักไม่พบอาการแสดงผิดปกติ นอกจากอาจพบสาเหตุของโรคของหลอดเลือดโคโรนารีตีบ หรือความดันเลือดสูงเป็นต้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจพบว่ามีความผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่มีอาการหรือในขณะให้ผู้ป่วยออกกำลัง เป็นต้น
การรักษาที่สำคัญ ได้แก่ การแนะนำผู้ป่วยมิให้ออกกำลังกายอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก เนื่องจากกล้ามเนื้อของหัวใจขาดเลือดเลี้ยง ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ควรได้รับยาระงับประสาท ควรลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่อ้วนควรลดความดันถ้ามีโรคความดันเลือดสูง และควรงดสูบบุหรี่ ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกอาจระงับอาการดังกล่าวได้โดยให้ยาขยายหลอดเลือดโคโรนารี เช่น เอมีลไนไทรต์ (amyl nitrite) โดยการดมกลีเซอรีนไตรไนเทรต (glycerine trinitrate) หรือ ไนโตรกลี เซอรีน (nitroglycerine) โดยการอมใต้ลิ้นซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการแน่นหน้าอกภายในเวลา ๒-๓ นาที นอกจากนี้ ยังมียาขยายหลอดเลือดโคโรนารีชนิดที่ออกฤทธิ์นานกว่า เช่น ไอโซซอร์ไบด์ไตรไนเทรต (isosorbide trinitrate) เพนทาอีรีทริทอลเตตราไนเทรต\ (pentaerythritol tetranitrate) อาจให้ในผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากกล้ามเนื้อของหัวใจขาดเลือดเลี้ยงบ่อยๆ ยาอื่นๆที่อาจให้ ได้แก่ ยาประเภทโพรพาโนลอล ซึ่งเป็นยาประเภทสกัดกั้นการทำงาน ของประสาทซิมพาเทติก เป็นต้น
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เกิดเนื่องจากมีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงแข็งตัวเนื่องจากอะเทอโรมาทำให้หัวใจขาดเลือดเลี้ยงทันที ถ้ามีการอุดกั้นของหลอดเลือดโดยสมบูรณ์ จะทำให้หัวใจขาดเลือดเลี้ยงทันที ทำให้ผู้ป่วยเป็นลมและถึงแก่กรรมได้ภายในเวลาอันสั้นผู้ป่วยที่ไม่ถึงแก่กรรมก็มีอาการรุนแรงได้ เช่น มีอาการปวดเช่นเดียวกับการปวดเนื่องจากหัวใจขาดเลือดเลี้ยง แต่อาการปวดจะมีความรุนแรงมากกว่าและเป็นเวลานาน อาการจะไม่ดีขึ้นเมื่อพักผ่อน และมี อาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการหายใจลำบากและเป็นลม ซึ่งอาจเป็นอยู่นานหลายชั่วโมงได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการมากจนถึงกับมีภาวะหัวใจซีกซ้ายวายและมีอาการหมดสติร่วมด้วย และอาจถึงแก่กรรมเนื่องจากหัวใจหยุดเต้นทันที หรือมีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ อาการอื่นๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นร่วมด้วย เมื่อผู้ป่วยหายจากอาการปวดที่บริเวณหน้าอกแล้ว ได้แก่ อาการไข้ อ่อนเพลีย เหนื่อย หายใจลำบาก รวมทั้งอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยได้ การตรวจร่างกายในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการจะปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการกระวนกระวายอย่างมาก มีอาการซีดและเหงื่อออกมาก ชีพจรเต้นเร็ว ช็อก และความดันเลือดต่ำแต่ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยอาจไม่มีความผิดปกติเหล่านี้นอกจากนี้อาจตรวจพบอาการแสดงอื่นๆ ของภาวะหัวใจวายหรือภาวะที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติร่วมด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจจะช่วยบอกว่าผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือไม่ และถ้ามี เกิดขึ้นที่บริเวณใดของหัวใจ

การรักษา แบ่งเป็น ๔ ประเภทคือ
๑. การรักษาฉุกเฉิน ผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงโคโรนารี ทำให้มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายทันที จำเป็นต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน และต้องรีบรักษาความผิดปกตินั้นๆ โดยทั่วไปควรให้ผู้ป่วยนอนพักอย่างเต็มที่บนเตียง ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีอาการภาวะหัวใจวาย และป้องกันมิให้เกิดความดันภายในห้องหัวใจเพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีหัวใจแตก ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหน้าอกอย่างรุนแรงจำเป็นต้องให้ยาระงับปวด เช่น การให้มอร์ฟีน (morphine) ทันทีและอาจให้ซ้ำได้ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการเป็นลมหรือมีอาการของภาวะหัวใจวายหรือภาวะความดันเลือดต่ำ ช็อก หรือมีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติที่ทำให้เกิดมีอาการอย่างรุนแรงก็ต้องรักษาตามสาเหตุนั้นๆ
๒. การรักษาภายหลัง เมื่อผู้ป่วยพ้นระยะแรกที่มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างมาก หรือมีอาการช็อก หรือมีอาการจากโรคแทรกอื่นๆ แล้ว ควรให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลา ๒-๔ สัปดาห์ (ตามความรุนแรงของโรค) แล้วจึงให้ผู้ป่วยเริ่มลุกขึ้นช้าๆ จนกระทั่งเดินได้ภายใน ๑-๒ สัปดาห์หลังจากนั้น อย่างไรก็ดี ในขณะที่ผู้ป่วยนอนบนเตียงจำเป็นจะต้องเคลื่อนไหวแขนขาอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีภาวะทร็อมโบเอ็มบอลิซึม(thromboembolism) ซึ่งอาจหลุดไปอุดกั้นที่บริเวณปอดทำให้เกิดภาวะปอดตายขึ้นได้ การรักษาอื่นๆ เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้อาหารอ่อนๆ ในระยะ ๒-๓ วันแรก สวนอุจจาระถ้าผู้ป่วยมีอาการท้องผูกเนื่องจากนอนเป็นเวลานาน
๓. การให้ยาต้านการแข็งเป็นลิ่มของเลือดผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อของหัวใจตายควรได้รับยาต้านการแข็งเป็นลิ่มของเลือดทันที เช่น ฉีดยาฮีพาริน (heparin) ในขณะเดียวกันอาจให้ยาต้านการกลายเป็นลิ่มของเลือดชนิดกินร่วมด้วย โดยหวังว่าเมื่อยากินออกฤทธิ์แล้วจะหยุดยาฉีดฮีพารินได้ การให้ยาต้านการกลายเป็นลิ่มของเลือดจะช่วยป้องกันภาวะทร็อมโบเอ็มบอลิซึม และป้องกันมิให้มีการขยายขอบเขตของการกลายเป็นลิ่มของเลือดภายในหลอดเลือดแดงโคโรนารีเพิ่มขึ้น
๔. การรักษาอื่นๆ เป็นการรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะอุดกั้นหัวใจ รักษาโดยการใช้ยาหรือใช้ไฟฟ้ากระตุ้น นอกจากนี้ก็เป็นการป้องกันโดยการผ่าเปิดขยายหลอดเลือดหรือตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
โรคความดันเลือดสูง
ความดันเลือดในคนปกติเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยหลายชนิด เช่น อายุ ลักษณะของหลอดเลือดความต้านทานของหลอดเลือดแดงตอนปลาย และกิจกรรมของร่างกาย โดยปกติความดันเลือดแดงในคนปกติไม่ควรจะสูงกว่า ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอท เมื่อวัดที่แขนในท่านอนพัก ถ้ามีความดันเลือดแดงสูงกว่านี้อาจถือว่าเป็นโรคความดันเลือดสูง พึงสังเกตว่าผู้ป่วยเป็นความดันเลือดสูงจะต้องมีความดันไดแอสโทลิกสูงเสมอ การที่ความดันซิสโทลิกสูงอย่างเดียวโดยที่ความดันไดแอสโทลิกปกติมักเกิดขึ้นจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
สาเหตุของความดันเลือดสูง มีดังนี้
๑. ไม่ทราบสาเหตุ (พบได้บ่อยที่สุด)
๒. โรคของไต เช่น ไตและกรวยไตอักเสบเรื้อรัง เนื้อไตอักเสบ ภาวะไตวายเรื้อรัง เป็นต้น
๓. โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น กลุ่มอาการคุชิง ฟีโอโครโมไซโทมา (phecdhromocytoma) แอลโดสตีโรนิซึมปฐมภูมิ (primary aldosteronism)
๔. โรคครรภ์เป็นพิษ
๕. โรคของสมอง เช่น ภาวะความดันภายในกะโหลกศีรษะสูงเกินปกติ
๖. เส้นเลือดแดงเอออร์ตาตีบเฉพาะที่

โรคความดันเลือดสูงไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยที่ทราบว่ามีความดันเลือดสูงมากกว่า ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอทเมื่อวัดที่แขนในท่านอน อาจไม่มีอาการอย่างใดเลยเป็นเวลานาน หรืออาจจะมีอาการน้อยมาก เช่น มีอาการปวดศีรษะเป็นครั้งคราว เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยซึ่งทราบแน่นอนว่าเป็นความดันเลือดสูงเป็นเวลานานโดยไม่มีอาการใดๆ และมีชีวิตยืนยาวเช่นคนปกติ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงอย่างมากมักจะมีอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเริ่มมีความดันเลือดสูงเมื่ออายุน้อยๆ
ผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูง เป็นเวลานานอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับระบบของร่างกายหลายระบบ ดังนี้
๑. การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหัวใจเมื่อมีความดันเลือดสูง หัวใจซีกซ้ายจะทำงานเกินปกติ ทำให้กล้ามเนื้อของห้องปลายหัวใจซีกซ้ายโตขึ้น อาจมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง และในที่สุดอาจมีอาการของหัวใจซีกซ้ายวายได้
๒. หลอดเลือดในจอตาจะมีอาการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจแสดงถึงความรุนแรงของความดันเลือดสูงได้
๓. หลอดเลือดของสมองจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับหลอดเลือดในส่วนต่างๆของร่างกาย ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะในเวลาเช้า โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงมากๆ กลุ่มอาการโรคสมองเนื่องจากความดันเลือดสูง เป็นกลุ่มอาการซึ่งพบในผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงอย่างรุนแรงและมีอาการปวดศีรษะอย่างมาก คลื่นไส้อาเจียน อาการชัก หมดสติ และอาจจะมีอาการอัมพาตเพียงชั่วคราวร่วมด้วย ในผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงอย่างรุนแรงจะมีการตกเลือดได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงอย่างรุนแรงมาเป็นเวลานาน จะมีโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดแตกในสมองได้ง่าย รวมทั้งอาจมีการตกเลือดที่บริเวณอื่นๆ ได้ด้วย
๔. การเปลี่ยนแปลงที่ไตผู้ป่วยที่เป็นความดันเลือดสูงเป็นเวลานาน จะปรากฏว่ามีความผิดปกติในหน้าที่การ
ทำงานของไต ในที่สุดอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
๕. ภาวะความดันเลือดสูงอย่างรุนแรง (ภาวะซึ่งผู้ป่วยมีความดันเลือดสูงอย่างมาก โดยเฉพาะมีความดันไดแอสโทลิก มากกว่า ๑๔๐ มิลลิเมตรปรอทร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนในหลอดเลือดของจอตา) ทำให้มีการบวมของจานออปติก (optic disc) มีการเปลี่ยนแปลงของหน้าที่การทำงานของไตผิดปกติ เช่น มีไข่ขาว และคาสต์ (casts) ในปัสสาวะ และกล้ามเนื้อของหัวใจซีกซ้ายขยายตัวเกินปกติ
สิ่งสำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคความดันเลือดสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ได้แก่ การพยายามสืบค้นหาสาเหตุต่างๆ จนทราบแน่นอนว่าไม่พบจึงจะสามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคความดันเลือดสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันเลือดสูงทุกรายจำเป็นจะต้องทำการตรวจดูการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงที่หัวใจ การเปลี่ยนแปลงที่จอตา และการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของไตโดยการสืบค้นที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ การเอกซเรย์ทรวงอกและไต การตรวจหน้าที่การทำงานของไต และการตรวจดูการเปลี่ยน แปลงของหลอดเลือดแดงในจอตา เป็นต้น
การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันเลือดสูงควรได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง เช่น ควรแนะนำให้ทำงานปกติ แนะนำเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งอาจทำให้มีระดับความดันเลือดสูงขึ้นได้ทันทีและเป็นอันตรายได้ ผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงและอ้วนจำเป็นต้องลดน้ำหนักลง ทั้งนี้เพราะการลดน้ำหนักอาจทำให้ความดันลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติได้
ผู้ป่วยที่มีความกระวนกระวายอย่างมากอาจให้ยาระงับประสาทร่วมด้วยได้ ผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงที่ได้รับการวินิจฉัยแน่นอนแล้ว และหน้าที่การทำงานของไตยังคงมีอยู่ควรได้รับยาลดความดันเลือด ผู้ป่วยที่หน้าที่การทำงานของไตผิดปกติหรืออยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังแล้ว การลดความดันเลือดลงอย่างมากอาจทำให้มีการคั่งค้างของสารที่ไม่ต้องการเพิ่มขึ้น และในกรณีเช่นนี้การลดความดันเลือดจึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง
การรักษาอื่นๆเป็นการรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจซีกซ้ายวาย มีความดันเลือดสูง ทำให้มีอาการชักและหมดสติร่วมด้วย จำเป็นต้องรักษาตามนั้น
การทำงานของระบบประสาทาทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาท ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
1. อวัยวะรับความรู้สึก (Receptors) ซึ่งได้แก่ หู , ตา , ลิ้น , จมูก , ผิวหนัง , ข้อ , กล้ามเนื้อ เป็นอวัยวะที่ไวต่อตัวกระตุ้นมาก จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานของสิ่งเร้าให้กลายเป็นกระแสประสาท (Nreve Implus) เซลล์รับความรู้สึกจะตอบสนองเฉพาะตัวกระตุ้นที่เป็นมันเองเท่านั้น เช่น ตารับความรู้สึกเกี่ยวกับแสง แต่จะไม่ตอบสนองตัวกระตุ้นที่เป็นเสียง เป็นต้น

2. เส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory Nerve Fiber) เป็นเส้นประสาทที่นำกระแสประสาท หรือความรู้สึกต่าง ๆ เข้าสู่สมอง หรือไขสันหลัง
3. ตัวเชื่อมโยง (Connector) คือ ระบบประสาท สมองและไขสันหลัง กระแสประสาทที่ไหลผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึกจะเข้าสู่ตัวเชื่อมโยง ซึ่งจะประกอบด้วยเซลล์ประสาทจำนวนล้าน ๆ เซลล์กระแสประสาทจะผ่านเข้าสู่ไขสันหลังก่อนแล้วจึงส่งให้สมอง สมองจะมีคำสั่งออกมาในรูปกระแสประสาทเพื่อไปกระตุ้นอวัยวะให้เกิดพฤติกรรม
4. เส้นประสาทสั่งงาน (Motor Nerve Fiber) คือ เส้นประสาทที่นำคำสั่ง (ในรูปของกระแสประสาท) จากสมองหรือไขสันหลังออกไปยังกล้ามเนื้อหรือต่อมต่าง ๆ
5.อวัยวะที่ใช้ในการตอบสนอง (Effectors) กระแสประสาทจากสมอง จะผ่านมายังเส้นประสาทสั่งงานมากระตุ้น กล้ามเนื้อหรือต่อมให้เกิด การตอบสนอง ในรูปของพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ผงปลิวเข้าตา กระแสประสาทจากสมองจะกระตุ้นกล้ามเนื้อตาทำให้หนังตาปิด และขณะเดียวกัน ต่อมก็จะหลั่งน้ำตา ออกมาเพื่อล้างสิ่งแปลกปลอมนั้น
ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ถ้าหากแบ่งตามลักณะของโครงสร้าง แบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) หรือ CNS ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง
2. ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral nervous system) หรือ PNS ได้แก่เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง

ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ถ้าแบ่งตามลักษณะของการทำงาน แบ่งได้เป็นดังนี้

1. ระบบประสาทที่ำทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary nervous system) หรือระบบประสาทโซมาติก (Somatic nervous system)
ระบบประสาทนี้สมองส่วนซีรีบรัมจะเป็นผู้สั่งการ และสามารถควบคุมการทำงานนั้นได้ ให้หยุดทำงานก็ได้ ระบบการทำงานนี้เริ่มต้นด้วยอวัยวะรับสัมผัสรับกระแสประสาท และส่ง กระแสประสาทนั้นเข้าสู่เส้นประสาทไปตามเส้นประสาทสมอง แล้วนำเข้าสู่สมอง ต่อจากนั้นสมองส่วนซีรีบรัมจะส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทสั่งการของสมอง หรือไขสันหลัง ไปยังกล้ามเนื้อลายมัดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อไี้ป



2.ระบบประสาทที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ (Involuntary nervous system) หรือระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system)
ระบบประสาทอัตโนวัติ เป็นระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู๋นอกอำนาจจิตใจทั้งหลายได้แก่ กล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะต่าง ๆ กล้ามเนื้อหัวใจ และต่อมต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างอัตโนวัติ ช่วยให้ร่างกายดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติ และเกิดสมดุลของร่างกาย
ระบบประสาทอัตโนวัติแบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อยโดยมีการทำงานในลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่
2.1 ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nerve) ระบบประสาทนี้จะแยกออกจากไขสันหลัง บริเวณอกและเอว จึงเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ทอราโคลัมบาร์เอาต์โฟล์ว (thoraco-lumbar outflow) เซลล์ประสาทตัวแรกอยู่ที่ไขสันหลัง แล้วมีแอกซอนออกมากับเซลล์ประสาทสั่งการ แล้วแยกไปยังปมประสาทซิมพาเทติกบริเวณอกและเอว แอกซอนของเซลล์ประนสาทตัวแรกนี้จะปล่อยสารสื่อประสาทเป็น แอซิติลโคลิน ภายในปมประสาทซิมพาเทติกจะมีเซลล์ประสาททำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทตัวที่สอง ปล่อยออกมาเป็นสาร นอร์อะดรีนาลิน หรือนอร์เอพิเนฟริน จึังเรียกเซลล์ประสาทพวกนี้ว่าเซลล์ประสาทอะดรีเนอร์จิก
(ิ adrenergic neuro)สารนี้เมื่อปล่อยออกมาแล้วจะถูกยอยอสลายโดยเอนไซม์มอนามีนออกซิเดส ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ใหม่อีก (รับการกระตุ้นได้อีก) ระบบประสาทซิมพาเทติกมักจะกระตุ้นการทำงานมากกว่าที่จะยับยั้งการทำาน
2.2 ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nerve) ระบบประสาทนี้แยกออกมาจากสมองและไขสันหลังบริเวณสะโพก จึงเรียกอีกอย่างว่า คานิโอซากรัล เอาต์โฟลว์ (carnio-sacral outflow) ทั้งเซลล์ประสาทตัวแรกและเซลล์ประสาทตัวที่สองของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก จะปล่อยสารสื่อประสาทเป็นแอซิติลโคลิน จึงเรียกเซลล์ประสาทพวกนี้ว่า
เซลล์ประสาทคอลิเนอร์จิก (cholinergic neuron) ระบบประสาทนี้ การทำงานมัก จะยับยั้งมากกว่า
ที่จะกระตุ้น เพื่อปรับไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป

ระบบหายใจ
มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
1.จมูก (Nose)
จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
2. หลอดคอ (Pharynx)
เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
3. หลอดเสียง (Larynx)
เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
4. หลอดลม (Trachea)
เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
5. ปอด (Lung)
ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม
ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด



กระบวนการในการหายใจ
ในการหายใจนั้นมีโครงกระดูกส่วนอกและ กล้ามเนื้อบริเวณอกเป็นตัวช่วยขณะหายใจเข้า กล้าม เนื้อหลายมัดหดตัวทำให้ทรวงอกขยายออกไปข้างหน้า และยกขึ้นบน ในเวลาเดียวกันกะบังลมจะลดต่ำลง การกระทำทั้งสองอย่างนี้ทำให้โพรงของทรวงอกขยาย ใหญ่มากขึ้น เมื่อกล้ามเนึ้อหยุดทำงานและหย่อนตัวลง ทรวงอกยุบลงและความดันในช่องท้องจะดันกะบังลม กลับขึ้นมาอยู่ในลักษณะเดิม กระบวนการเข่นนี้ทำให้ ความดันในปอดเพิ่มขึ้น เมื่อความดันในปอดเพิ่มขึ้นสูง กว่าความดันของบรรยากาศ อากาศจะถูกดันออกจาก ปอด ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ปัจจัยประการแรกที่ทำให้ อากาศมีการเคลื่อนไหวเข้าออกจากปอดได้นั้น เกิด จากความดันที่แตกต่างกันนั่นเอง
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน
เมื่อเราหายใจเข้า อากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยังถุงลมในปอด ที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดแดงฝอยติดอยู่ ดังนั้นอากาศจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับเม็ดเลือดแดงมากออกชิเจนก็จะผ่านผนังนี้เข้าสู่เม็ดเลือดแดง และคาร์บอนไดออกไชด์ก็จะออกจากเม็ดเลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจนร้อยละ 20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกขิเจนร้อยละ 13

Click for the full size image


ระบบทางเดินอาหาร
(อังกฤษ: Gastrointestinal tract, GI tract, alimentary canal, or gut) ระบบทางเดินอาหาร อาจเรียกอีกอย่างว่าระบบย่อยอาหาร (digestive tract) ระบบอวัยวะนี้มีเฉพาะในสัตว์หลายเซลล์ (multicellular animals) ที่ต้องกินอาหารและย่อยอาหาร เพื่อรับสารอาหารและพลังงานและขับถ่ายของเสียออกไป
ได้แก่
ปาก mouth (oral cavity)
ต่อมน้ำลาย salivary glands
คอหอย throat (pharynx)
หลอดอาหาร esophagus
กระเพาะอาหาร stomach
ตับ liver
ตับอ่อน pancreas
ถุงน้ำดี gallbladder
ลำไส้เล็ก small intestine
ไส้ติ่ง appendix
ลำไส้ใหญ่ large intestine
ลำไส้ใหญ่ส่วนทวารหนัก rectum
ทวารหนัก anus
เป็นต้น
ระบบทางเดินอาหาร (Digestive system) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก
2. ต่อมสร้างน้ำย่อย ได้แก่ ต่อมน้ำลาย ต่อมสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ตับอ่อน และตับ สารอาหารที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยให้มีขนาดของ โมเลกุลเล็กลง คือ โปรตีน(protein) กรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharides) ไขมัน(fat) กรดไขมันและกลีเซอรอล(fatty acid และ glycerol)
การย่อยอาหาร (Digestion) มี 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 การย่อยเชิงกล (Mechanical digestion) เป็นตอนที่ อาหารชิ้นใหญ่ถูกทำให้ชิ้นเล็กลง โดยการบดเคี้ยวด้วยฟัน หรือการบีบตัวของทางเดินอาหาร
ตอนที่ 2 การย่อยทางเคมี (Chemical digestion) เป็นตอนที่โมเลกุลของสารอาหารโมเลกุลใหญ่ถูกเปลี่ยนสภาพให้มีโมเลกุลเล็กลงโดยใช้เอนไซม์(enzyme)เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เอนไซม์ (Enzyme)คือ อินทรียสารพวกโปรตีน เพื่อทำ หน้าที่กระตุ้นในปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายในสิ่งมีชีวิตนั้น
ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนี้จะต้องมีน้ำเข้ามาร่วมในกระบวน การแตกสลาย สารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง เราเรียกกระบวนการแตกสลายสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้ มีโมเลกุลเล็กลงโดยอาศัยน้ำว่า ไฮโดรลิซิส (hydrolysis)
การย่อยอาหารในปาก
ฟัน (Teeth) ทำหน้าที่บดอาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย ฟันของคนเรามี 2 ชุด คือ
- ฟันน้ำนม (Deciduous teeth) เป็นฟันชุดแรก มี 20 ซี่
- ฟันแท้ (Permanent teeth) เป็นฟันชุดที่สองมีจำนวน 32 ซี่ จะงอกขึ้นครบเมื่ออายุ 13 ปี ฟันแท้มีชนิดต่าง ๆ ดังนี้
1. ฟันหน้า หรือฟันตัด(incisors) ขากรรไกรบน 4 ซี่ ล่าง 4 ซี่ ทำหน้าที่ตัดอาหาร
2. ฟันเขี้ยว (canines) ขากรรไกรบน 2 ซี่ ล่าง 2 ซี่ ทำหน้าที่ ตัด ฉีก หรือแยกอาหารออกจากกัน
3. ฟันกรามน้อย (premolars) ขากรรไกรบน 4 ซี่ ล่าง 4 ซี่ ทำหน้าที่ตัดและฉีกอาหาร
4. ฟันกราม(molars) ขากรรไกรบน 6 ซี่ ล่าง 6 ซี่ ทำหน้าที่ เคี้ยวและบดอาหาร
ฟันประกอบด้วย
- ตัวฟัน (Crown) มีสารสีขาวเนื้อแน่นเคลือบอยู่ ช่วย ป้องกันฟันผุ เรียกว่า สารเคลือบฟัน(enamel)
- คอฟัน (Neck)
- รากฟัน (Root)
ลิ้น (Tongue) มีหน้าที่สำคัญในการรับรสอาหาร เพราะที่
ลิ้นมีปุ่มรับรส เรียกว่า taste bubs และยังมีความสำคัญใน การพูดของคน
ต่อมน้ำลาย (Salivary glands) ของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วย น้ำนม มี 3 คู่
1. ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น
2. ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง
3. ต่อมน้ำลายข้างกกหู มีท่อนำสารออก เรียกว่าท่อ สเตนสัน(Stenson's duct) ถ้าหากมีเชื้อไวรัสเข้าไปที่ต่อมนี้ จะทำให้เกิดโรคคางทูม (mump)
น้ำลาย(Saliva) มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน มีปริมาณแคลเซียม สูงมาก ทำหน้าที่ละลายอาหาร ป้องกันไม่ให้ปากแห้ง และ ช่วยในการเคลื่อนไหวของลิ้นขณะพูด ศูนย์ควบคุมการ หลั่งน้ำลาย คือสมองส่วนที่อยู่ระหว่าง medulla obongata และ pons
น้ำลาย (Saliva) ประกอบด้วย
1. เอนไซม์อะไมเลส (amylase) ช่วยย่อยสลายคาร์โบ ไฮเดรต
2. น้ำ (99.5%) เป็นตัวทำละลายสารอาหาร
3. เมือก(mucin) เป็นสารคาร์โบไฮเดรตผสมโปรตีน ทำให้ อาหารรวมกันเป็นก้อน ลื่น และกลืนสะดวก
การหลั่งน้ำลาย (Salivation) จะเกิดเมื่อระบบประสาทพารา ซิมพาเธติก ถูกกระตุ้น การย่อยอาหารของน้ำลาย
การทดสอบแป้ง ใช้สารละลายไอโอดีน (สีน้ำตาลแกม เหลือง) ถ้ามีแป้ง(starch) จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
การทดสอบน้ำตาล ใช้สารละลายเบเนดิกต์ ซึ่งมีสีฟ้า จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง แต่น้ำตาลซูโครสไม่เปลี่ยนสี
คลอเลสเตอรอล(Cholesterol) ถ้ามีมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่ว ในถุงน้ำดี(Gallstones) เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี เกิดโรคดีซ่าน (Jaundice) มีผลทำให้การย่อยอาหารประเภทไขมัน บกพร่อง
- ตับอ่อน(Pancreas) จะหลั่งน้ำย่อยออกมาอยู่ภายใต้การ ควบคุมของลำไส้เล็ก
- ถุงน้ำดี (Gall bladder) จะหลั่งน้ำดีออกมาอยู่ภายใต้การ ควบคุมของลำไส้เล็ก
- ลำไส้เล็ก จะหลั่งน้ำย่อยออกมาอยู่ภายใต้การควบคุมของ ระบบประสาทอัตโนมัติ(ANS)
- การดูดซึม B12 ของลำไส้เล็ก อยู่ภายใต้การควบคุม ของกระเพาะอาหาร
- การหลั่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร อยู่ภายใต้การควบคุม ของกระเพาะอาหาร
สรุปเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารของคน
1. ต่อมน้ำลาย สร้าง pHที่เหมาะสม : น้ำลายกลางหรือกรดเล็กน้อย
เอนไซม์ : amylase ย่อย : starch และ glycogen ผลที่ได้ maltose
2. ต่อมสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
สร้าง pHที่เหมาะสม : gastric juice และ HCl(กรดสูง) เอนไซม์ : pepsin และ rennin ย่อย : pepsinย่อย protein และ rennin ย่อย proteinในน้ำนม ผลที่ได้ : เอนไซม์ pepsin ได้ peptide และเอนไซม์ rennin ได้ลักษณะเป็นลิ่ม ๆ (Paracasein)
3. ตับอ่อน สร้าง pH ที่เหมาะสม : pancreatic juice และ NaHCO3 (ด่างอ่อน)
เอนไซม์ :
1. lipase ย่อย fat ผลที่ได้ fatty acid และ glucerol
2. amylase ย่อย starch และ glycogen ผลที่ได้ maltose
3. trypsin ย่อย protein และ polypeptide ผลที่ได้ peptide
4. chymotrypsin ย่อย protein และ polypeptide ผลที่ได้ peptide
5. carcoxypeptidase ย่อย peptide ผลที่ได้ amino acid
6. nuclease ย่อย nucleic acid ผลที่ได้ nucleotide
4. ต่อมสร้างน้ำย่อยในลำไส้เล็ก สร้าง pH ที่เหมาะสม : intestinal juice (ด่างอ่อน)
เอนไซม์ :
1. enterokinase กระตุ้น trypsin ผลที่ได้เปลี่ยน trypsinogen เป็นtrypsin 2. maltase ย่อย maltose ผลที่ได้ glucose+glucose
3. sucrase ย่อย sucrose ผลที่ได้ glucose+fructose
4. lactase ย่อย lactose ผลที่ได้ glucose+galactose
5. lipase ย่อย fat ผลที่ได้ fatty acid และ glycerol
6. carboxypeptidase ย่อย peptide ผลที่ได้ aminoacid
7. aminopeptidase ย่อย peptide ผลที่ได้ amino acid
8.dipeptidase ย่อย peptide ผลที่ได้ amino acid
9. nuclease ย่อย nucleic acid ผลที่ได้ nucleotide
5. ตับ สร้าง pH ที่เหมาะสม : blie (เก็บไว้ที่ถุงน้ำดี) (ด่างอ่อน)
เอนไซม์
1. bile salt (ไม่ใช่ enzyme) ย่อยตีไขมันให้แตก(lipaseทำ หน้าที่ได้ดีขึ้น) ผลที่ได้ หยดไขมันเล็ก ๆ (emulsion)
2. bile pigment เกิดจากการสลายของ hemoglobin เกิด เป็นสีในอุจจาระ
ระบบขับถ่าย
ร่างกายมนุษย์มีกลไกต่าง ๆ คล้ายเครื่องยนต์ ร่างกายต้องใช้พลังงาน การเผาผลาญพลังงานจะเกิดของเสีย ของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดออกไปมีอยู่ 2 ประเภท
1. สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย
2. สารที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ
ระบบการขับถ่าย เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไป ของเสียในรูปแก๊สคือลมหายใจ ของเหลวคือเหงื่อและปัสสาวะ ของเสียในรูปของแข็งคืออุจจาระ
- อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแข็งคือ ลำไส้ใหญ่(ดูระบบย่อยอาหาร)
- อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊สคือ ปอด(ดูระบบหายใจ)
- อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลวคือ ไต และผิวหนัง
-อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปปัสสาวะ ได้แก่ ไต หลอดไต กระเพาะปัสสาวะ
-อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปเหงื่อ คือผิวหนัง ซึ่งมีต่อมเหงื่ออยู่ในผิวหนังทำหน้าที่ขับเหงื่อ
1. การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่
การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก

สาเหตุของอาการท้องผูก
1. กินอาหารที่มีกากอาหารน้อย
2. กินอาหารรสจัด
3. การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน
4. ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป
5. สูบบุหรี่จัดเกินไป
6. เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก
โดยปกติ กากอาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณวันละ 300-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้เกิด
อุจจาระประมาณวันละ 150 กรัม
2. การขับถ่ายของเสียทางปอด
เราได้ทราบจากเรื่องระบบหายใจแล้วว่า ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจากร่างกายทางจมูก

3. การขับถ่ายของเสียทางไต
จากระบบการหมุนเวียนโลหิต เลือดทั้งหมดในร่างกายจะต้องหมุนเวียนผ่านไต โดยนำสารทั้งที่ยังมีประโยชน์และสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาที่ไต ของเสียจะถูกไตกำจัดออกมาในรูปปัสสาวะ
ไต มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีอยู่ 2 ข้าง ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้องยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา ส่วนของเสีย
อื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร
ในวันหนึ่ง ๆ คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร ปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
- ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
- ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น
- การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น

ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system เช่น ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต้น

ลักษณะโครงสร้างของต่อมไร้ท่อ
โดยทั่วไป ประกอบด้วย สองส่วนหลักคือ
1. Parenchyma (เนื้อต่อม) ประกอบด้วย เซลล์เนื้อผิวชนิดที่ เรียกว่า secretory cells และเป็นเซลล์สำคัญที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งเซลล์เหล่านี้ อาจเรียงตัวเป็นกลุ่ม (clumps) ขดเป็นกลุ่ม (cord) หรือแผ่น (plates) โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด fenestrated หรือ sinusoid capillaries และเส้นน้ำเหลือง จำนวนมากแทรก เพื่อทำหน้าที่หล่อเลี้ยง และลำเรียงฮอร์โมน ออกจากเนื้อต่อมเข้าสู่วงจรไหลเวียน ของกระแสเลือดไปกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ตามเป้าหมาย (target organs) ที่อยู่ห่างไกล
2. Stroma (โครงร่างพยุงเนื้อต่อม) ประกอบด้วย เนื้อประสานโดยให้เป็นเปลือกหุ้ม และโครงร่างให้เซลล์ของเนื้อต่อมเกาะ ในต่อมไร้ท่อบางชนิดพบมีส่วน ของเปลือกหุ้มยื่นเข้าไปแบ่งเนื้อต่อม ออกเป็นส่วน เรียกว่า Trabaeculae

ต่อมไร้ท่อแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ต่อมที่พบอยู่เดี่ยว ได้แก่
I. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland หรือ Hypophysis) มีเปลือกหุ้มที่ประกอบด้วย เนื้อประสาน เนื้อต่อมแบ่งย่อยออกเป็น 4 ส่วนคือ
1. Pars Anterior (Pars distalis) ส่วนนี้มีลักษณะคล้ายต่อมประกอบด้วย เซลล์ 2 ชนิดคือ
a) Chromophils เป็นเซลล์ที่ชอบติดสี แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด (ศึกษาจากการ ย้อมด้วย H&E ) 1. Acidophils เซลล์ชนิดนี้ cytoplasm ติดสีชมพู พบส่วนใหญ่บริเวณ - ส่วนกลางของ pars distalis 2. Basophils เป็นเซลล์ที่ cytoplasm ติดสีน้ำเงินเข้มและมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์ ชนิดแรก พบบ่อยบริเวณรอบนอกของ pars distalis

b) Chromophobe เป็นเซลล์ที่ไม่ชอบติดสี มีขนาดเล็กที่สุดเล็ก ภายใน cytoplasm ไม่บรรจุ granules มักพบเป็นกลุ่มเห็นแต่เฉพาะนิวเคลียส 2. Pars Intermedia มีลักษณะเป็นกลุ่มของถุงน้ำ (colloid-filled follicles) เปลือกของถุงน้ำดาดด้วยเซลล์ชั้นเดียวขนาดเล็กติดสีน้ำเงินเข้ม 3. Pars Nervosa and Infundibular Stalk ส่วนนี้มีลักษณะ เหมือนเนื้อประสาท เซลล์ที่พบใน pars nervosa คือ pituicytes มีลักษณะคล้าย neuroglial cells (เซลล์พยุงของเซลล์ประสาท) นอกจากนั้นพบ unmyelinated nerve fibers ที่มีบริเวณส่วนปลาย ขยายออกและบรรจุ neurosecretions ที่เรียกว่า Herring bodies
4. Pars Tuberalis ส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ทรงลูกเต๋าที่เรียงตัว ม้วนเป็นขด อาจจะพบมีลักษณะเป็นถุงน้ำที่บรรจุ colloid
II. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) มีเปลือกหุ้มและยื่นให้เป็น septa แทรก เข้าไปในเนื้อต่อม เซลล์ของเนื้อต่อมมีลักษณะเป็น colloid-filled follicles โดยเปลือกหุ้ม ถุงน้ำ ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ
1. Follicular cells เป็น simple cuboidal epithelium (ส่วนใหญ่) สร้างและหลั่ง iodine-containing hormone T3 และ T4
2. Parafollicular cells (clear cells) แทรกอยู่กับ follicular cells สร้างและหลั่ง Calcitonin
III. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) มีเปลือกหุ้มและ septa ลักษณะ ของพวกเซลล์เรียงตัวเป็นแผ่น ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด
1. Chief cells พบจำนวนมาก พวกเซลล์มีขนาดเล็กแต่มีนิวเคลียสค่อนข้างใหญ่
2. Oxyphils พบจำนวนน้อย พวกเซลล์มีขนาดใหญ่ cytoplasm ติดสีกรด (ชมพู) และ มักอยู่กันเป็นกลุ่มๆ

IV. ต่อมหมวกไต (Suprarenal หรือ Adrenal gland) มีเปลือกหุ้มเนื้อต่อม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพราะมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน คือ
1. Cortex เนื้อต่อมส่วนนอกกำเนิดมาจาก mesodermal cells แบ่งย่อย ออกเป็น 3 บริเวณตามลักษณะของขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวของพวกเซลล์ โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด sinusoidal capillaries แทรกได้แก่
a) Zona Glomerulosa พบอยู่ใต้เปลือกที่หุ้มการเรียงตัวของเซลล์ มี ลักษณะขดเป็นกลุ่ม คล้าย glomerulus ของเนื้อไต b) Zona Fasciculata พบอยู่ถัดลงมา เนื้อต่อมส่วนนี้หนาที่สุด เซลล์รียงตัว เป็นแท่ง และมีลักษณะรูปทรงลูกเต๋า ภายในเซลล์ใสบางครั้งเรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า spongiocyte c) Zona Reticularis พบอยู่ด้านในสุดของเนื้อต่อมส่วนนอก ประกอบด้วย เซลล์ขนาดเล็ก ติดสีเข้ม และต่อเนื่องกันคล้ายร่างแห

2. Medulla เนื้อต่อมส่วนในสุดมีแหล่งกำเนิดมาจาก neural crest cells ประกอบด้วยเซลล์ขนาดใหญ่ ภายใน cytoplasm บรรจุ granules เรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า chromaffin cells นอกจากนั้นยังพบ autonomic ganglion cells ขนาดใหญ่ ลักษณะสำคัญของเนื้อต่อมส่วนนี้คือพบว่ามี เส้นเลือดดำขนาดใหญ่บรรจุอยู่
V. ต่อมไพเนียล (Pineal gland) เปลือกที่หุ้มมาจาก pia mater มี septa แทรกในเนื้อต่อม ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ
1. Pinealocytes เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่
2. Neuroglial cells เป็นเซลล์ขนาดเล็กมีนิวเคลียสติดสีเข้มกว่าเซลล์ชนิดแรก ลักษณะสำคัญในเนื้อต่อมไพเนียลคือพบ Brain Sand (corpora arenacea) มีลักษณะเป็น calcified accretions ติดสีม่วงเข้ม
2. พวกเซลล์ต่อมไร้ท่อที่กระจัดกระจายหรือเป็นกลุ่ม
โดยพบอยู่ร่วมกับพวกเซลล์ต่อมมีท่อ หรือร่วมกับอวัยวะอื่นของร่างกาย เช่น Islets of Langerhans of pancreas,Interstitial cells of Leydig in testis และ APUD cells (Amine Precursor Uptake and Decarboxylation) ซึ่งกลุ่มเซลล์ชนิดหลังสุดประกอบด้วย hormone-secreting cells สร้างและหลั่ง สารเคมีที่มีโครงสร้างคล้าย peptides และ active amines สารเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนหรือ neuro- transmitters พบเซลล์เหล่านี้ กระจัดกระจายแทรกในเนื้อผิว ที่ดาดในท่อทางเดินอาหาร ทางเดินลมหายใจ ในระบบไตและทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น APUD cells มีบางตัวกำเนิดมาจาก neuroectoderm เซลล์ในกลุ่มนี้บางตัว สามารถสาธิตให้เห็นในบทที่เกี่ยวกับ อวัยวะเหล่านั้น ยกเว้นพวก APUD cells เพราะส่วนใหญ่บ่งชี้ได้ ต้องย้อมสีพิเศษ หรือศึกษาในระดับ กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน
ระบบสืบพันธุ์ุเพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
1. อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum)
อัณฑะ มีลักษณะรูปร่างคล้ายไข่ฟองเล็ก ยาว 3-4 Cm หนาประมาณ 2-3 Cm หนักประมาณ 50 กรัม อัณฑะมี 2 ข้างและขนาดใกล้เคียงกันอยู่ภายในถุงอัณฑะ ซึ่งทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ภายในอัณฑะประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดเรียงกันอยู่มากมาย เพื่อทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) นอกจากนั้นยังมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่น เสียงห้าว มีหนวดเครา
2. หลอดเก็บตัวอสุจิ
เป็นที่พักของตัวอสุจิที่สร้างจากหลอดสร้างตัวอสุจิจะอยู่บริเวณด้านบนของอัณฑะต่อเชื่อมกับหลอดนำตัวอสุจิ
3. หลอดนำตัวอสุจิ
อยู่ต่อจากหลอดเก็บอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
4. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ(seminal vesicle)
อยู่ต่อจากหลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ ส่วนมากเป็นน้ำตาลฟรักโตส และสารประกอบอื่นๆที่ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะกับตัวอสุจิ
5. ต่อมลูกหมาก(prostate gland)
อยู่บริเวณตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารบางชนิดที่เป็นเบสอย่างอ่อน เข้าไปในท่อปัสสาวะปนกับน้ำเลี้ยงอสุจิ และสารที่ทำให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว
6. ต่อมคาวเปอร์(cowper gland)
มีหน้าที่หลั่งสารของเหลวใสๆไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะเกิดการกระตุ้นทางเพศ
7. อวัยวะเพศชาย(pennis) เป็นกล้ามเนื้อที่หดและพองตัวได้คล้ายฟองน้ำในวลาปกติจะอ่อนและงอตัวอยู่ แต่เมื่อถูกกระตุ้นจะเเข็งตัวเพราะมีเลือดมาคั่งมาก ภายในจะมีท่อปัสสาวะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและน้ำปัสสาวะ

ขั้นตอนในการสร้างตัวอสุจิและการหลั่งน้ำอสุจิ มีดังนี้
เริ่มจากหลอดสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอยู่ภายในอัณฑะสร้างตัวอสุจิออกมา จากนั้นตัวอสุจิจะถูกนำไปพักไว้ที่หลอดเก็บอสุจิก่อนจะถูกลำเลียงผ่านไปตามหลอดนำตัวอสุจิ เพื่อนำตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิรอการหลั่งออกสู่ภายนอก ต่อมลูกหมากจะหลั่งสารเข้าผสมกับน้ำเลี้ยงอสุจิเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับตัวอสุจิก่อนที่จะหลั่งน้ำอสุจิออกสู่ภายนอกทางท่อปัสสาวะ
โดยปกติเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิได้เมื่ออายุประมาณ 12 - 13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต ส่วนการหลั่งน้ำอสุจิในแต่ละครั้งจะมีของเหลวออกมาเฉลี่ยประมาณ 3 - 4 ลูกบาศก์เซนติเมตรและมีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 350 - 500 ล้านตัว สำหรับชายที่เป็นหมันจะมีตัวอสุจิน้อยกว่า 30 - 50 ล้านตัว ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่ผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาจะเคลื่อนที่ได้ประมาณ 3 - 4 มิลลิเมตรต่อนาที และมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จะมีชีวิตอยู่ในมดลูกของเพศหญิงได้นานประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง
ระบบสืบพันธุ์ุเพศหญิง
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
1. รังไข่ ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
2. ท่อนำไข่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร
3. มดลูก มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 - 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4. ช่องคลอด อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด

การตกไข่
การตกไข่ หมายถึง การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ โดยปกติรังไข่แต่ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ในแต่ละเดือน ดังนั้น จึงมีการตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 1 ใบ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผนังหนาขึ้นทั้งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 กรณีต่อไปนี้
1. ถ้ามีอสุจิเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่ในขณะที่มีการตกไข่ อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ด้านที่ใกล้กับรังไข่ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูก เพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตต่อไป
2. ถ้าไม่มีตัวอสุจิเข้ามาในท่อนำไข่ ไข่จะสลายตัวก่อนที่จะผ่านมาถึงมดลูก จากนั้นผนังด้านในของมดลูกและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง เป็นจำนวนมากก็จะสลายตัว แล้วไหลออกสู่ภายนอกร่างกายทางช่องคลอด เรียกว่า ประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่อายุประมาณ 12 ปี ขึ้นไป รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปประมาณ 28 วัน และจะมีทุกเดือนไปจนกระทั่งอายุประมาณ 50 - 55 ปี จึงจะหยุดการมีประจำเดือน โดยจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย
ระบบกระดูก
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตทีมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อน มีอวัยวะต่างๆทำงานสอดคล้องกันเป็นระบบ กระดูกคนเรามีทั้งหมด 206 ชิ้น แบ่งประเภทได้ดังนี้
ก. แบ่งตามตำแหน่งที่อยู่
1 . กระดูกแกนกลางมี 80 ชิ้น ได้แก่ กะโหลกศรีษะ กระดูกสันหลัง กระดูกอก
กระดูกซี่โครง กระดูกก้นกบ
2. กระดูกระยางค์
2.1กระดูกระยางค์แขน เช่น กระดูกสะบัก กระดูกไหปลาร้า
กระดูกแขน(นอก-ใน) กระดูกฝ่ามือ กระดูกนิ้วมือ
2.2 กระดูกระยางค์ขา เช่น กระดูกต้นขา กระดูกข้อเท้า กระดูกฝ่าเท้า
กระดูกนิ้วเท้า
2.3 กระดูกอ่อน เช่น หลอดลม ปลายจมูก และใบหู

ข. แบ่งตามลักษณะกระดูก
1. กระดูกยาว ได้แก่ กระดูกแขน กระดูกขา
2. กระดูกสั้น ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า
3. กระดูกแบน ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระดูกอก กระดูกสะบัก
4.กระดูกยาว รูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน
5.กระดูกลม
6.กระดูก โพรง กะโหลกศีรษะ
หน้าที่ของกระดูก
1. เป็นโครงสร้างของร่างกาย ทำให้ร่างการคงรูปอยู่ได้
และช่วยรับน้ำหนักของร่างกาย
2. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเอ็นและพังผืด
3. ป้องกันอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด
4. สร้างเม็ดเลือด( กระดูกสันหลัง )
5. ช่วยในการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
ข้อต่อและกระดูก
กระดูกที่ละท่อนต่อเชื่อมกันด้วยเอ็นซึ่งต่อกันได้หลายแบบแล้วแต่การเคลื่อนที่ การที่กระดูกประกอบด้วยชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาต่อๆกัน ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวลราบรื่นมากขึ้น
-กระดูกที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น กะโหลกศีรษะ
-กระดูกเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย เช่น กระดูกบริเวณก้นกบ
-กระดูกแบบบานพับ เช่น กระดูกต้นแขน ข้อต่อบริเวณหัวเข่า
- กระดูกแบบหัวกลม เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกต้นคอ
กระดูกต้นขากระดูกสะบักเป็นต้น

ทางซ้ายคือแบบบานพับ ขวาคือแบบโพรง
การเคลื่อนไหวของข้อต่อ
1. เคลื่อนได้ระนาบเดียวกัน(แบบบานพับ) เช่น ข้อศอก ข้อเข่า
2. เคลื่อนได้2 ระนาบ เช่น ข้อมือ กระดกขึ้น-ลง
3. เคลื่อนได้ 3 ระนาบ เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพก
อาหารและยาที่เรากินหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะซึมผ่านกล้ามเนื้อไป การฉีดเข้าข้อต่อโดยตรงอาจเกิดอันตรายได้ เพราะยาบางชนิดสามารถทำลายกระดูกอ่อนได้ การนวดมีส่วนทำให้อาการและยาซึมผ่านข้อต่อได้เร็วขึ้นและมักไม่มีผลเสียใดๆ
การบำรุงรักษาและพัฒนาโครงร่าง
ข้อเคล็ด เกิดจากเส้นเอ็นที่ยึดติดกระดูกฉีกขาด ทำให้อักเสบบวมบริเวณข้อต่อ และห้อเลือด รักษาโดยใช้น้ำแข็งประคบ
1. ท่ายืนควรยืดไหล่หลังตรง แอ่นเล็กน้อยบริเวณคอ
2. หน้าอกแอ่น ตะโพกยื่น ทำให้กระดูกสันหลังช่วงเอวแอ่นมากทำให้
เกิดอาการปวดหลัง
3. การนั้งเอามือเท้าคาง หลังงอ ทกให้กรดูกสันหลังโก่ง ปวดหลัง
4. การเดินเอาส้นเท้าลงก่อน ทำให้พยุงน้ำหนักได้ดี เดินเร็วแล้วมีความรู้สึกว่าตัวเบากว่าการเดินเอาปลายเท้าลง
อาหารบำรุงกระดูก
อาหารช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก เช่นอาหารพวกที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมสด ไข่แดง ผักใบเขียว ผลไม้ และอาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา ผักสด
การออกกำลังกายเป็นประจำเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนากระดูกให้เจริญอย่างเต็มที่และแข็งแรง ระวังอย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไปเพราะอาจทำให้ข้อต่อชำรุด
เสื่อมสภาพเร็ว
โรคเกี่ยวกับกระดูก มาจากหลายสาเหตุ
1. จากพันธุกรรม
2. จากเชื้อโรค
3. จากสิ่งแวดล้อม
4. จากวัย, อายุที่เพิ่มขึ้น
ระบบกล้ามเนื้อ ( muscle ) เป็นตัวที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยทำงานร่วมกับระบบโครงกระดูก
กล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. กล้ามเนื้อลาย ( skeletal muscle ) เป็นกล้ามเนื้อชนิดเดียวที่ยึดเกาะกับกระดูก ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะเป็น
ทรงกระบอกยาว เรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ ( muscle fiber ) ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย สีเข้ม สีอ่อน
สลับกันเห็นเป็นลายตามขวาง แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
( voluntary muscle ) เช่น กล้ามเนื้อที่ แขน ขา หน้า ลำตัว เป็นต้น
2. กล้ามเนื้อเรียบ ( smooth muscle ) เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่มีลายตามขวาง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะแบนยาว
แหลมหัวแหลมท้าย ภายในเซลล์มีนิวเคลียสอันเดียวตรงกลาง ทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ ( involuntary muscle ) เช่น
กล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่างๆ
3. กล้ามเนื้อหัวใจ ( cardiac muscle ) เป็นกล้ามเนื้อของหัวใจโดยเฉพาะ รูปร่างเซลล์จะมีลายตามขวางและมี
นิวเคลียสหลายอันเหมือนกล้ามเนื้อลาย แต่แยกเป็นแขนงและเชื่อมโยงติดต่อกันกับเซลล์ข้างเคียง การทำงานอยู่นอกอำนาจ
จิตใจเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ
ระบบห่อหุ้มร่างกาย
(Common integument)
ระบบห่อหุ้มร่างกาย มีความสำคัญในการช่วยทำหน้าที่หลายอย่าง ที่สำคัญคือ
1. ทำหน้าที่ป้องกัน ทั้งจากภายนอกและภายใน จากภายนอกคือทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ จากสิ่ง แวดล้อม เช่น เชื้อโรค การกระทบกระแทกต่างๆ ป้องกันอันตรายจากภายใน คือ การสูญเสียความร้อน การสูญเสียน้ำ และของเหลวอื่นๆ
2. ทำหน้าที่สะสมอาหารจำพวกไขมันเอาไว้ที่ชั้นใต้ผิวหนัง
3. ควบคุมทำให้อุณหภูมิของร่างกายคงที่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่เหมาะสม
4. เป็นที่อยู่ของระบบประสาทที่รับความรู้สึก
5. ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสีย โดยผ่านทางต่อมเหงื่อ
6. เป็นตัวที่ช่วยสร้างสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามิน D โดยที่ผิวหนังจะมีสารที่ชื่อว่า 7-dehydrocholecalciferol เมื่อโดนรังสีอุลตร้าไวโอเลต ก็จะเปลี่ยนไปเป็น cholecalciferol ภายในต่อม sebaceous glands ซึ่งก็คือวิตามิน D นั่นเอง ไปทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาสมดุลย์ของแคลเซี่ยม ในร่างกาย
7. รงควัตถุในผิวหนัง (pigment) จะทำหน้าที่เกี่ยวการป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต
8. ทำหน้าที่เกี่ยวการหายใจในพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ โดยที่ผิวหนังจะค่อนข้างบ้างและชุ่มชื้น เหมาะสำหรับ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส
ผิวหนังสามารถแบ่งโดยทั่วๆไป เป็นสองชั้น คือชั้น epidermis และชั้น dermis การกำเนิดของสองชั้นนี้มีความแตกต่างกัน ชั้น epidermis จะเจริญมาจาก ectoderm ของตัวอ่อน ส่วนชั้น dermis นั้นจะเจริญมาจาก mesoderm
การแบ่งชั้นของผิวหนังอย่างละเอียดนั้น จะใช้ลักษณะของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นหลัก ในการแบ่ง และใช้สัตว์ชนิดอื่นๆเข้ามาเปรียบเทียบ ชั้นของผิวหนังสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
ชั้น Epidermis เป็นผิวหนังชั้นนอกสุด เรียกอีกชื่อว่าหนังกำพร้า สามารถที่จะมีการลอกหลุด ได้ง่ายและมีการสร้างทดแทนได้ตลอดเวลา สารแบ่งออกเป็นชั้นย่อยๆ เมื่อดูโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ดังนี้
1. Stratum germinativum หรือ Germinative layer หรือ Malpighian layer เป็นชั้นที่อยู่ล่างสุดของ epidermis เป็นชั้นที่มีการเจริญมากที่สุด โดยเนื้อเยื่อชั้นนี้จะเจริญ ขยับขึ้นมาสู่ชั้นนอก กลายเป็นเนื้อเยื่อชั้นอื่นๆ สามารถแบ่งได้ออกเป็นสองชั้นย่อยๆ ได้ คือ Stratum basale เป็นชั้นที่มี malanin อยู่ และ Stratum spinosum เป็นชั้นที่มีเซลส์ ลักษณะคล้ายหนาม ประสานกันเป็นร่างแห
2. Stratum granulosum เป็นชั้นที่ถัดขึ้นมา ลักษณะเฉพาะคือ ในเซลส์ของชั้นนี้ จะมีลักษณะ granule เล็กๆ หรือเม็ดเล็กๆ อยู่ภายในเซลส์ เรียกชื่อว่า Keratohyaline granule ลักษณะของนิวเคลียสเริ่มจางลงและค่อยๆหายไป
3. Stratum lucidum เป็นชั้นที่ถัดออกมาด้านนอก เปลี่ยนแปลงมาจากชั้น Stratum granulosum โดยสาร Keratohyaline จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ใสขึ้นเรียกชื่อว่า Eledin จึงทำให้ชั้นนี้มีความใสสว่างกว่าชั้นอื่น
4. Stratum corneum เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด หนามาก ประกอบไปด้วยเซลส์ที่ตายแล้ว และลอกหลุดออกมาเสมอๆ โปรตีนที่อยู่ในชั้นนี้มีชื่อเรียกว่า Keratin เปลี่ยนแปลงมาจาก eledin ในชั้น Stratum lucidum
การขยับของเซลส์จะขยับมาจากชั้น Stratum germinativum ขึ้นมาเรื่อยๆ โดยมีการ เปลี่ยนแปลง ลักษณะของเซลส์ไปเรื่อยๆ
ชั้น Dermis เป็นชั้นที่อยู่ใต้ epidermis เปลี่ยนแปลงมาจาก เนื้อเยื่อในกลุ่ม mesoderm ในตัวอ่อน สามารถแบ่งออกได้สองชั้นย่อยๆ คือ
1. Papillary layer เป็นชั้นที่ติดกับ eptdermis มีลักษณะเป็นคลื่น และพบพวกปลายประสาท, เส้นเลือด, ท่อน้ำเหลือง, Hair follicle, Sebaceous glands และกล้ามเนื้อเรียบของขน (Arrectorpili muscle)
2. Reticular layer ประกอบไปด้วย collagen fiber สานกันอย่างแน่นหนา มีเนื้อเยื่อไขมัน (Asdipose tissue) ปนอยู่มาก และยังพบ เส้นเลือดเส้นประสาท ต่อมเหงื่อ pigment cell และอื่นๆ
วิวัฒนาการของผิวหนัง จะพบว่าในสัตว์จำพวก Amphioxus จะมีผิวหนังที่เป็นโครงสร้างง่ายๆ คือเป็นเซลส์ที่ชั้น epidermis เพียงชั้นเดียว โดยมี glands แทรกตัวปะปนอยู่ด้วย และพบ ชั้น Dermis อยู่ใต้ลงมา เป็นโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ต่อมามีหลักฐานพบว่า ปลาโบราณจำพวกหนึ่ง (Notophthaimus) เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างของลักษณะของผิวหนังไป โดยพบว่า ชั้น epidermis เริ่มที่จะมีการเพิ่มจำนวนชั้นของเซลส์ ที่ซับซ้อนมากขึ้น มีลักษณะของ cornifiled cells ที่จะเริ่มเจริญกลายเป็นเกล็ด นอกจากนี้ยังเริ่มพบพวก เม็ดสีบ้าง ในชั้น Derrmis นั้นพบวิวัฒนาการจำพวก Glands ต่างๆ ที่มากไปกว่า Amphioxus และพบว่าเริ่มมีเส้นเลือดเข้าไปเลี้ยงในชั้น Drertmis นี้ จากในกลุ่มของปลาโบราณนี้ ได้พัฒนาต่อมาเป็นพวก ปลากระดูกแข็ง, พวก Aquatic amphibians, พวกสัตว์เลื้อยคลาน และกลายมาเป็นพวกสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในที่สุด
การเปรียบเทียบลักษณะของ Epidermis
ลักษณะของ epidermis ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่รายละเอียดของส่วนต่างๆที่แตกต่างกันนั้น จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้
วิธีการดูแลร่างกาย
พระพุทธะเดินดินให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักธรรมในการดูแลร่างกายแก่พวกเรา เพื่อให้พวกเราดำรงชีวิตอยู่โลกนี้ด้วยสุขภาพและใจที่แข็งแรง จิตญาณจะได้มีที่พักพิง
1.) สูบบุหรี่ดื่มสุราให้น้อย ดื่มน้ำให้มาก
2.) ทานเนื้อสัตว์ให้น้อย ทานผักสดให้มาก
3.) ทานเกลือ-น้ำตาลให้น้อย ทานผลไม้ให้มาก
4.) โอ้อวดให้น้อย อดทนให้มาก
5.) โกรธแค้นให้น้อย ยิ้มแย้มให้มาก
6.) บาปกรรมทำให้น้อย สร้างบุญกุศลให้มาก
7.) กลัดกลุ้มให้น้อย ขยันหมั่นเพียรให้มาก